Home BREAKING NEWS ปิดตำนาน ‘อาเบะ’ นักการเมืองสายชาตินิยม ผู้ยกระดับภาพลักษณ์ญี่ปุ่นบนเวทีโลก

ปิดตำนาน ‘อาเบะ’ นักการเมืองสายชาตินิยม ผู้ยกระดับภาพลักษณ์ญี่ปุ่นบนเวทีโลก

by Editor staff

⇒ ปิดตำนาน ‘อาเบะ’ นักการเมืองสายชาตินิยม ผู้ยกระดับภาพลักษณ์ญี่ปุ่นบนเวทีโลก

ไฮไลท์การเมือง : 9 กรกฎาคม 2565 ชินโซ อาเบะ ผู้เติบโตและถูกฟูมฟักจากตระกูลการเมือง เป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด

อาจกล่าวได้ว่านโยบายของอาเบะเรื่องการเเก้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นมรดกของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้เขาเป็นเป็นนักการเมืองที่สร้างการเเบ่งขั้วและมีความซับซ้อนมากที่สุดในการเมืองยุคปัจจุบันของญี่ปุ่น

อาเบะซึ่งเสียชีวิตในวันศุกร์ หลังถูกลอบสังหาร เคยสร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายเสรีนิยมของประเทศ รวมถึงสร้างความโกรธเคืองต่อเหยื่อของสงครามโลกครั้งที่สองในเอเชีย

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเขามีมุมมอง “สายเหยี่ยว” ต่อการปฏิรูปกองทัพ และจุดยืนของเขาที่ว่าญี่ปุ่นถูกตัดสินอย่างไม่เป็นธรรมโดยประวัติศาสตร์

ในขณะเดียวกัน เขาสร้างแรงขับเคลื่อนเพื่อฟื้นพลังทางเศรษฐกิจของประเทศ และพยายามทำให้ญี่ปุ่นมีบทบาทเเข็งขันมากขึ้นในเอเชีย

เมื่อตอนที่เขาลาออกจากตำเเหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ เขาถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเมืองที่มีเสถียรภาพในญี่ปุ่นซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก

เดวิด ลีฮีนีย์ นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวาเซดะกล่าวว่า ” (อาเบะ) เป็นบุคคลทางการเมืองที่ยืนตระหง่านอย่างโดดเด่นที่สุดของญี่ปุ่นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา”

“เขาต้องการให้ญี่ปุ่นได้รับการเคารพบนเวทีโลกในทางที่เขาเห็นว่าควรค่าต่อญี่ปุ่น… เขาไม่ต้องการให้ญี่ปุ่นต้องขอโทษอยู่ตลอดเวลากับ (สิ่งที่เกิดขึ้นใน) สงครามโลกครั้งที่สอง” ลีฮีนีย์กล่าว

อาเบะ ซึ่งมีอายุ 67 ปีเสียชีวิตจากการถูกยิงขณะปราศรัยหาเสียง

ตำรวจยืนยันว่าสามารถจับตัวผู้ต้องสงสัยที่ชื่อ เท็ตซึยา ยามากามิ อายุ 41 ปี ในข้อหาพยายามฆ่า และ NHK รายงานว่าเขาเคยทำงานในหน่วยป้องกันตนเองทางทะเลของกองทัพญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 ปีในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 2000 อาวุธที่พบในที่เกิดเหตุดูเหมือนว่าจะเป็นปืนที่ทำขึ้นเอง

อาเบะเชื่อว่า “ประเทศอื่นๆ ควรให้ความสนใจ และคนญี่ปุ่นควรภูมิใจ” ต่อประวัติของประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ สันติภาพและความร่วมมือกับชาติต่างๆ อาจารย์ ลีฮีนีย์ กล่าว

อาเบะเป็นที่ชื่นชอบของนักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมของญี่ปุ่น แต่เขาถูกมองในเเง่ลบจากนักการเมืองสายเสรีนิยม

ในบรรดานโยบายต่างๆของเขาไม่มีนโยบายใดที่สร้างความแตกแยกในประเทศมากไปกว่าเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญที่มีแก่นมาจากการปฏิเสธและต่อต้านสงคราม

แผนเเก้รัฐธรรมนูญของอาเบะไม่ประสบความสำเร็จ และแนวทางชาตินิยมที่เข้มข้นอย่างรุนเเรงของเขาทำให้จีนและเกาหลีไม่พอใจ เนื่องจากเป็นเหยื่อของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง

ความพยายามผลักดันเรื่องนี้ของอาเบะยึดโยงกับประวัติส่วนตัวของเขา

คุณตาของอาเบะ คืออดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โนบุซุเกะ คิชิ ผู้ซึ่งเกลียดชังรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่ร่างโดยสหรัฐฯ และถูกนำมาใช้ในช่วงหลังสงครามภายใต้การยึดครองของอเมริกา

อาเบะมีมุมมองเรื่องนี้เช่นเดียวกับคุณตาของเขา โดยมองว่ารัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1947 เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่เขาคิดว่าไม่ยุติธรรมต่อญี่ปุ่น จากที่ประเทศพ่ายเเพ้สงครามและถูกครอบด้วยระเบียบและค่านิยมของชาติผู้ชนะที่เป็นประเทศตะวันตก

แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีอาวุธที่ทันสมัย รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นห้ามไม่ให้ญี่ปุ่นใช้กำลังทหารในความขัดเเย้งระหว่างประเทศ และจำกัดระดับการป้องกันตนเองด้านกลาโหม

อาเบะมักใช้วาทะทางการเมืองที่สร้างภาพลักษณ์ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศ “ปกติธรรมดา” และ “สวยงาม” ที่มีกองทัพเข็งเเกร่งขึ้นและมีบทบาททางการทูตมากขึ้น

เขาเป็นเเรงขับเคลื่อนของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในความพยายามฟอกขาวความโหดร้ายช่วงสงครามและต้องการให้ญี่ปุ่นหยุดขอโทษต่อความโหดร้ายดังกล่าว

ผู้ที่สนับสนุนอาเบะชี้ให้เห็นว่าอาเบะพยายามให้ญี่ปุ่นมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นขึ้นบนเวทีโลก และว่าเขาช่วยนำเสนอแนวทางสำหรับชาติประชาธิปไตยที่คิดตรงกันในการคานอำนาจจีน ซึ่งในเรื่องนี้ญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ

อาเบะยังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ฟูมิโอะ คิชิดะ ในการสร้างความเเข็งเเกร่งให้กับกองทัพ รวมถึงศักยภาพในการโจมตีเพื่อสกัดการตกเป็นเป้าก่อน

เมื่อตอนที่อาเบะประกาศลาออกจากตำแหน่ง เขากล่าวว่าตนป่วยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เขาบอกกับผู้สื่อข่าวว่า เป็นที่น่าเสียใจที่เขาต้องลงจากตำแหน่งขณะที่ยังมีเป้าหมายที่ยังทำไม่เสร็จ ซึ่งรวมถึงการหาทางออกให้กับความขัดเเย้งทางดินเเดนกับรัสเซีย และการปรับแก้รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น

รัฐบาลวอชิงตันของสหรัฐฯ ชื่มชมอาเบะจากการที่เขาสร้างความเเข็งเเกร่งให้กับความสัมพันธ์สหรัฐฯและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิธีเพิ่มศักยภาพทางกลาโหมให้กับญี่ปุ่นด้วย

ทั้งนี้ ในญี่ปุ่น มีทหารอเมริกันประจำการอยู่ 50,000 คนถือเป็นกำลังสำคัญของการรักษาดุลอำนาจ ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนและเกาหลีเหนือ

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปชาวญี่ปุ่นจำนวนมากสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ “รักสันติ” ที่มีอยู่ และ ภายในพรรครัฐบาลของอาเบะเกิดความเเตกเเยกทางความคิดในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะมีนักการเมืองที่ต้องการเน้นนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า

เมื่อตอนที่อาเบะขึ้นรับตำแหน่งผู้นำในปี ค.ศ. 2006 เขาอายุ 52 เขาทำลายสถิติเป็นนายกฯญี่ปุ่นที่อายุน้อยที่สุด แต่รัฐบาลสมัยเเรกของเขาจบลงอย่างรวดเร็วเพราะมีเเนวทางชาตินิยมรุนเเรงเกินไปและเพราะปัญหาสุขภาพของอาเบะเองด้วย

อาเบะยังเป็นผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นยาวนานที่สุด แซงหน้านายกฯไอซากุ ซาโตะ ซึ่งเป็นญาติของอาเบะเช่นกัน โดยซาโตะดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ 2,798 วัน ช่วง ค.ศ. 1964 ถึง1972

อาเบะได้เป็นผู้นำประเทศอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 2012 แผนฟื้นพลังทางเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านนโยบายใช้จ่ายภาครัฐ ปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และอัตราดอกเบี้ยที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดคำติดปาก “อาเบะโนมิกส์” ในการกล่าวถึงนโยบายเศรษฐกิจของเขา​

ที่มา: เอพี

Advertisement

Related Articles

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00