Home การเมืองกระบวนการยุติธรรม ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องปมเงินดิจิทัล-“ทักษิณ” ชี้นำพรรค

ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องปมเงินดิจิทัล-“ทักษิณ” ชี้นำพรรค

by Editor staff

ไฮไลท์การเมือง : 29 พฤษภาคม 2567 มติเอกฉันท์ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนโยบายเงินดิจิทัล-“ทักษิณ” ชี้นำพรรค-ตั้งบุคคลขาดคุณสมบัตินั่ง รมต. เข้าข่ายใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครอง วินิจฉัยแค่ความเห็นต่าง ข้อเท็จจริง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ สั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยในคดีที่นายคงเดชา ชัยรัตน์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของพรรคเพื่อไทย ที่นำนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง สส. ทำให้คะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ได้มาจากเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชน เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และการมีพฤติการณ์ยินยอมให้นายทักษิณ ชินวัตร ชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมือง ทำให้การใช้เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมาย การกระทำของคณะรัฐมนตรีที่นำนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการบริหารราชการแผ่นดินที่ไม่ให้ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องครบถ้วนแก่ประชาชน กระทำการเป็นสื่อมวลชนประเภทสื่อออนไลน์ อันเป็นลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี และมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเพื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม และการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร ที่อาจเป็นการชี้นำกิจกรรมของพรรคเพื่อไทย ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพทางการเมืองเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำร้องเพิ่มเติม และเอกสารประกอบ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ และยังไกลเกินกว่าเหตุที่แสดงให้เห็นได้ว่า ผู้ถูกร้องทั้งหมดกระทำการใด ๆ ที่เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คำร้องเป็นเพียงการแสดงความเห็นต่างของผู้ร้องเท่านั้น

Advertisement

Related Articles

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00