ไฮไลท์การเมือง : 21 สิงหาคม 2567 บมจ.ปตท.เดินหน้ากลยุทธ์ใหม่ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” เตรียมขายหุ้นกลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรเคมี หาพาร์ทเนอร์เสริมแกร่ง
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (ปตท. เปิดเผยว่า บอร์ด ปตท.ได้เห็นชอบกลยุทธ์ใหม่ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” หรือ “TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD” โดยเร่งสร้างความแข็งแรงและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็นธุรกิจหลังหรือ Core Business ของ ปตท. ที่มีความเชี่ยวชาญ ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และลดสินทรัพย์ที่ไม่สร้างผลกำไร
สำหรับธุรกิจ Hydrocarbon & Power Business แบ่งเป็น กลุ่มธุรกิจ Upstream ได้แก่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับ Partner มีต้นทุนแข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ในส่วนของ ปตท. ในธุรกิจก๊าซ (GAS) เพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และทำงานร่วมกันกับภาครัฐ ขณะที่ LNG แสวงหาโอกาสในการเติบโตใหม่ๆ กำหนดบทบาทชัดเจน เพื่อสร้าง Synergy สูงสุด ด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้า บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) กระแสไฟฟ้ามี Mandate ให้เสริมสร้าง Reliability และ Decarbonize ให้กับกลุ่ม ปตท., ทำ Energy Mix ที่เหมาะสม, หาโอกาสเติบโตในต่างประเทศ
สำหรับธุรกิจ Downstream จะต้องปรับตัวและสร้างความแข็งแรงร่วมกับ พันธมิตรr โดย ปตท. เตรียมลดสัดส่วนการลงทุน ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อหาพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ทั้ง บมจ.ไทยออยล์ (TOP), บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) และ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (GC) อย่างไรก็ตาม PTT ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทลูก โดยพันธมิตรดังกล่าว จะต้องเป็นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่ง และมีความเชียวชาญ ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว อาจใช้ฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกา
ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกจะต้องมุ่งหน้า ใน Mobility Partner ของคนไทย ปรับพอร์ตการลงทุนให้แข็งแกร่งรวมถึงการรักษาการเป็นผู้นำตลาด ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ Non-Hydrocarbon โดยจะประเมินธุรกิจนี้ ใน 2 มุมคือ 1. ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ (Attractive) และ 2. ปตท. มี Right to Play หรือมีจุดแข็ง สามารถเข้าไปต่อยอดในธุรกิจนั้นๆ ได้ และมี Partner ที่แข็งแรง
แนวทางการลงทุนในธุรกิจ Non-Hydrocarbon ในส่วนของ อีวี จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (สถานีชาร์จ EV) เนื่องจากมีจุดแข็งจาก บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ที่มีสถานีบริการน้ำมันอยู่ทั่วประเทศ โดยอาจจะมีการธุรกิจ Logistics ปตท. จะเน้นเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Core Business ของ ปตท. และมี Captive Demand อยู่แล้ว โดยยึดหลัก Asset-light และมี Partner ที่แข็งแรง และ ธุรกิจ Lie Science ปตท. จะต้องสามารถพึ่งตัวเองได้ทางการเงิน (Self-funding) และสร้าง Goodwill ให้กับสังคม
“ความชัดเจนของแผนทั้งหมดกำลังดำเนินการ โดยจะมีการถอนการร่วมลงทุนผลิตอีวีหรือไม่ก็กำลังพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด ในขณะที่สภาพคล่องของ ปตท.ขณะนี้มีราว 1 แสนล้านบาทและหากรวมทั้งกลุ่มก็มีราว 4.5 แสนล้านบาทก็เป็นวงเงินที่เตรียมพร้อมในการบริหารหากเกิดผลกระทบทางวิกฤติโลก รวมทั้งเป็นวงเงินที่พร้อมหาโอกาสสำหรับการลงทุน โดยยอมรับว่าในส่วนของธิรกิจปิโตรเคมีในขณะนี้ก็ได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกจากจีนมาตีตลาดสินค้าไทยและทำให้การใช้เม็ดพลาสติกน้อยลงและมีการดั๊มพ์ราคาจากต่างประเทศด้วย” นายคงกระพัน ระบุ
สำหรับผลดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2567 ว่า ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 64,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,475 ล้านบาท หรือ 34.4% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2566 จากผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น หลักจากผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยจากธุรกิจการกลั่นที่มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จากกำไรสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลง ประกอบกับมีการรับรู้กำไรจากการขายเงินลงทุนและการจำหน่ายสินทรัพย์เพิ่มขึ้น ขณะที่มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท. มุ่งสู่การเติบโตขององค์กรระดับโลกอย่างยั่งยืน โดยเป็นกำไรจากธุรกิจ Hydrocarbon 92% และธุรกิจ Non-Hydrocarbon 8% โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2567 ที่ 0.80 บาทต่อหุ้น เมื่อรวมกับภาษีเงินได้ ปตท. และบริษัทในเครือ นำเงินส่งรัฐรวม 35,684 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตด้านราคาพลังงาน ตั้งแต่ปี 2563 ในวงเงินกว่า 24,000 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน
Advertisement